Loading the player...


INFO:
จับหลักได้ไหมต้องการความสงบ ทำยังไง น้อมจิตไปอยู่ในอารมณ์ อันเดียว ที่มีความสุขอย่างต่อเนื่อง แต่วงเล็บไว้นิดนึง อารมณ์นั้น ต้องไม่กระตุ้นกิเลสนะ ถ้าต้องการให้จิตตั้งมั่นก็คือ เมื่อมีการ กระทบอารมณ์เนี้ย ให้รู้ทันจิตตัวเองนะรู้ทันจิต จิตก็จะกลับมาตั้งมั่น อัตโนมัติ แล้วถ้าจะทำวิปัสสนาทำยังไง เจริญปัญญามีสติรู้รูปนาม กายใจอย่างที่มันเป็นแต่เราต้อง รู้ด้วยจิตที่ตั้งมั่นนะ พอจิตเราตั้งมั่น เราจะเห็นรูปมัน ทำงานเหมือนเราดูละครนะ เห็นนามธรรมมันทำงาน เหมือนเรา ดูละครนะ เป็นแค่คนดู การที่เราไม่ใช่ผู้แสดง แต่เราเป็นผู้ดูนะ เราดูได้ชัดกว่าผู้แสดง ใครเคยดูมวยไหม ดูในทีวีก็ได้ สังเกตไหมว่า โค้ชเยอะมากเลย ไหม ตะโกน โวกเวก โวกเวก ต่อยเลย เตะเลย เอาเตะขวา เตะน่อง เตะนุ่น คนสอน กันเยอะแยะ เลย ทำไมไอ้คนดูมันสอนเก่ง เพราะมันเป็นคนวงนอก มันรู้ไอ้นักมวยคนเนี้ย มีจุดอ่อน ตรงไหนอมันดูจากคนวงนอก ส่วนไอ้คนที่ไปชกจริง มันเมาหมัดมันดูไม่ออก กรรมฐานก็เหมือนกัน ต้องดูแบบคนวงนอก จิตตั้งมั่นเป็นแค่คนดู แล้วเราถึงจะเห็นอะไรชัด เห็นความจริงของรูปของนามได้ ถ้าจิตเราไหลเข้าไปคลุกวงในนะ ดูอะไรไม่รู้เรื่องหรอกนะ ตัวเนี้ยเป็นตัวแตกหักเลย ที่ว่า ภาวนากันแล้ว ทำไมเข้าไม่ถึง มรรคผลกันสักทีอะนะ ถ้าจิตมันไม่ตั้งมั่น นี้พอจิตตั้งมั่นนะ จะเห็นรูป เห็นนาม กระทบอารมณ์แล้ว เนี่ย บางทีมันไม่สักว่ากระทบหรอก มันแถมด้วยความยินดี ยินร้าย เข้ามาด้วย เห็นผู้หญิงสวย จิตมีราคะขึ้นมาเนี่ย นะ ชอบอะ พอเราชอบผู้หญิง คนนั้นนะ ราคะนี้เราปล่อยทิ้งละ มีก็ไม่เป็นไร ไม่สนใจมันละนะ ก็ให้รู้ทันตัวเองนะ ไปชอบเขาแล้วก็ให้รู้นะ หรือเวลาความสุขเกิดขึ้น เรารู้ว่ามีความสุข แล้วเราชอบ ความสุขที่เกิดขึ้น อันนี้ก็ให้รู้ว่าชอบ จิตไม่เป็นกลาง เพราะงั้นจิต ตั้งมั่นแล้วเห็นสภาวะนะ ก็ยังมีปัญหาอีก มันอาจจะไม่เป็นกลาง กับสภาวะขึ้นมาอีก ถ้ามันเกิดไม่เป็นกลางกับสภาวะนะ ให้รู้ทันลงไปอีกชั้นนึง นะ จิตยินดีให้รู้ทันจิตยินร้ายให้รู้ทัน อย่างเวลาเราเห็นคนนึงเราไม่ชอบฮะ พอเห็นปุ๊บความโกรธเกิด เรามีสติรู้ความโกรธนะ ถ้าเห็นนะ จิตมันจะตั้งมั่นขึ้นมา แต่ว่าพอเห็นแล้วเนี่ย มันไปเกิด ความเกลียดไอ้คนเนี้ย แล้วมันไป เกิดความเกลียด ความโกรธ ของตัวเอง ใครเคยโมโหตัวเอง ไหม ลอง ยกมือหน่อยซิ มีไหมใครเคย โกรธตัวเองบ้างไหม เป็นทุกคนแหละเมื่อเวลาเรากระทบอารมณ์อันหนึ่ง แล้วนะ จิตมันยังมีปฏิกิริยาต่อเนื่อง มีปฏิกิริยาลูกโซ่ เป็นความยินดียินร้าย ให้รู้ทันตัวนี้เข้าไป ตัวนี้เป็นปัจจุบันนะ ส่วนไอ้ความรู้สึกอันแรกนั้น จบไปแล้วแล้วเกิดความยินดียินร้ายขึ้นมา แทนที่ ยินดียินร้ายเลยเป็นปัจจุบัน งั้นถ้าเราดูให้ดูความโกรธแล้วทำไมมันไม่หายสักที เราดูไม่เป็นหรอก เนี่ยเวลาเราเห็นจิตโกรธเนี่ย เราไม่ชอบ นะไอ้ความโกรธ สมมุติว่าโกรธ นายคนเนี้ยอะ โกรธครูบานะ โกรธครูบา เอ๊ะทำไมไม่หายสักที มองหน้าครูบา ไปแล้วเมื่อไหร่จะหายโกรธอย่างเงี้ย ก็เอาเชื้อเพลิง ใส่เข้าไปเรื่อยเรื่อยนะ แล้วตรงที่อยากหายโกรธนั้นน่ะจิตมันไม่ชอบความโกรธน่ะ เคยเห็นไหม ตัวนี้สำคัญนะมันละเอียดมากขึ้น มากกว่าที่จะรู้ว่าตอนนี้โลภ โกรธหลง อะไร คือรู้ว่าตอนนี้ กำลังยินดีกับ อารมณ์อันนี้ กำลังยินร้าย กับอารมณ์อันนี้รู้ทัน ตัวนี้เข้าไป ตัวนี้ละเอียดมากกว่าการรู้ โลภ โกรธ หลงซะอีกนะ มากกว่ารู้กุศล มากกว่ารู้สุข รู้ทุกข์ ความสุขเกิดขึ้นรู้ว่ามีความสุขเออเก่ง ยินดีในความสุขอะเห็นไหม ถ้าไม่เห็นก็จะติดสุข ความทุกข์เกิดขึ้นรู้ว่ามีความทุกข์ เราฝก็เก่งระดับนึงล่ะรู้ไหมว่า กำลังเกลียดความทุกข์ ถ้ารู้นี่เก่งจริง ถ้า ไม่รู้ว่ากำลังเกลียด ความทุกข์อยู่ ไม่เก่งจริง อย่างเวลาเรามีความทุกข์ เราดูจิตนะ เราก็เมื่อไหร่มันจะหาย เมื่อไหร่มันจะหาย เนี่ยดูด้วยความ เกลียด ความทุกข์ ความเกลียด อยู่ในตระกูลอะไร ตระกูลโทสะ เพราะงั้น ความทุกข์มันไม่หายหรอกนะ เราเอาโทสะมาใส่เข้าไปอีก เรายิงทุกข์หนักกว่าเก่าอีกนะ งั้นเวลาที่เราเดินปัญญานะ รู้สภาวะที่กำลังมี กำลังเป็นนะ แล้วก็จิตใจเราอเกิดปฏิกิริยาไง ยินดีให้รู้ทัน ยินร้าย ให้รู้ทันนะ จิตก็จะไม่ใช่แค่ตั้งมั่น แต่ว่าจะ ตั้งมั่นแล้วก็เป็นกลางด้วย ถือจิตที่ตั้งมั่น แล้วเป็นกลางนี่แหละ คือจิตที่เดินปัญญา ได้อย่างแท้จริงทำวิปัสสนาได้อย่างแท้จริง ลำพังจิตตั้งมั่นนะ แต่ว่ายังไม่ เป็นกลางง่ายๆ อะตั้งมั่นแล้ว เดี๋ยวก็ไหลอีกละ ยินดีบ้างยินร้ายบ้างเห็นกิเลส ก็เกลียด เห็นกุศลก็ชอบ อะไรเงีย อันเนียไม่เป็นกลาง ไม่เป็นกลาง จิตก็ดิ้นรนมาก ต่อไปอีกนะ ปรุงแต่งต่อไปอีก ก็ยังใช้ไม่ได้ ค่อยๆ ฝึกไป งั้นทีแรกรู้สภาวะ ที่มีที่เป็นนะ รู้ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น ที่ใจนะ แล้วปฏิกิริยาชั้นลึ